วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Listening Skill (ทักษะในการฟัง)

หลายคนเรียนภาษาอังกฤษจนอ่านหนังสือได้เข้าใจในระดับหนึ่ง แต่พอพูดกับฝรั่งเจ้าของภาษา ฟังเขาพูดไม่รู้เรื่องเพราะฝรั่งพูดเร็วเหลือเกิน ….เลยมีคนช่างคิดบอกว่า สงสัยเป็นเพราะเคยแต่เรียนกับครูไทย ก้อเลยไม่ชินสำเนียงที่ถูกต้อง ต้องจ้างฝรั่งมาสอนจึงจะได้ผล…..
             ถามว่าจ้างฝรั่งมาสอนแล้วจะฟังรู้เรื่องหมดหรือไม่….??? คำตอบก็คือ เราจะบอกใบ้ให้ว่ามีคำตอบทั้ง yes กับ no……. โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ปัจจัยหลายๆอย่างเหล่านั้นคืออะไร …??? …..ลองเอาไปบริกรรมดูเป็นการบ้าน……
            อ้าวแล้วกัน เขียนบทความสั้นๆมา 3 เรื่องแล้ว มีแต่หยิบยกปัญหาขึ้นมา แต่ไม่เห็นเฉลยเลย…..เอมันยังไงกันนิหว่า….??? …..ใจเย็นๆเรื่องพวกนี้มันต้องค่อยๆเฉลยที่ละนิดทีละนิด….ไม่ใช่อมภูมิหรือ ทำให้คนอ่านกระวนกระวายใจเล่นนะ แต่เป็นเพราะปัญหาบางอย่างมันค่อนข้างซับซ้อน แต่ถ้าอยู่ดีๆเขียนอะไรออกมาเป็นตุเป็นตะเรื่องหลักการหรือวิธีปฏิบัติโดย ไม่ให้คนอ่านนั่งคิดดูบ้างก่อนลงมืออ่านหรือปฏิบัติต่อไป…. คนอ่านก็อาจจะหลับคาเครื่องคอมพิวเตอร์ครอกๆไปซะก่อนก้อได้…….555….
            ตกลงในบทความ 3 เรื่องนี้ ได้หยิบยกปัญหาขึ้นมาแล้ว 3 อย่างนะ และจะค่อยๆแวะมาเขียนบอกให้นะว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ….เพราะบางปัญหามันไม่ใช่ที่จะแก้ได้ง่ายๆ …….ยกตัวอย่างเช่นเรื่องการเขียน พอพวกเราคนไทยหลังจากเรียนภาษาอังกฤษได้หลายปี ขนาดบางคนเรียนจบมหาลัยจากต่างประเทศด้วย พอเขียนภาษาอังกฤษไปฝรั่งอ่านดูแล้วจับผิดแก้มาได้ตั้งหลายแห่ง พอคนไทยถามกันเองว่า ทำไงจึงจะเขียนให้ดีขึ้น ก็มีคนอุตส่าห์คิดตอบมาได้แบบกำปั้นทุบดินว่า “ต้องอ่านเยอะๆสิ เพราะจะได้จำสิ่งที่อ่านเจอไปเขียน” ……
             แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงมันก็มีคนที่อ่านหนังสือหลายประเภทมา 10 กว่าปี อ่านรู้เรื่องดีแต่พอจะเขียนเองกลับเขียนไม่ได้ แต่คนบางคนอ่านหนังสือหลายประเภทมาแค่ 4-5 ปีกลับเขียนได้ดีกว่า …..ตกลงแล้วเป็นเพราะอะไร…..????
             เอาไว้จะแวะเข้ามาตอบเป็นเรื่องๆ (ถามเองตอบเองแปลกดีแฮะ…???) แล้วก็จะมาถามปัญหาเรื่องอื่นๆให้คิดกันเล่นๆ….เนื่องจากเวลาตัวเองเรียน ภาษาอังกฤษเองก็เคยเจอปัญหาร้อยแปดพันประเภทที่นั่งกุมขมับอยู่นาน ก็เลยจะค่อยๆเล่าประสบการณ์ตนเองให้คนอื่นฟังบ้าง
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย จากที่ทิ้งท้ายไว้ให้คิดในแต่ละตอน
บทความ1: การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษวันละหลายๆคำไม่ได้ช่วยให้ท่านใช้หรือเข้าใจภาษาอังกฤษได้ถูกต้องเสมอไป
            คือสาธิตไปแล้วว่าคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำนั้น มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะตัวของมัน นั่นก็คือพอใช้รวมกับกลุ่มคำหนึ่งก็มีความหมายหนึ่ง พอใช้รวมกับกลุ่มคำอื่นก็เปลี่ยนความหมายไป การรวมกลุ่มกันแล้วแปลได้ใจความตามธรรมชาติของภาษาอังกฤษ เราเรียกว่า collocation
ยกตัวอย่าง collocations ของคำว่า raise
raise your hand ยกมือคุณขึ้น
raise crops ปลูกพืช
raise pigs เลี้ยงหมู
raise an issue หยิบยกประเด็นขึ้นมา
pay raise การเขึ้นเงินค่าจ้าง…. นี่เป็นภาษามะกัน ภาษาอังกฤษเขาใช้ pay rise
         ตกลงการที่คุณจะใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาตินั้น คุณจะต้องจำ collcations เหล่านี้
         แต่ในขณะที่เขียนบทความนี้ (ปี 2004) เท่าที่รู้ ยังไม่มี dictionary อังกฤษเป็นไทยเล่มไหนที่ให้ตัวอย่างการใช้คำศัพท์ในประโยคได้ดีพอ และยังไม่มีตัวอย่าง collocations ให้
         นั่นก็หมายความว่าผู้เรียนจะต้องหาตัวอย่างประโยคโดยการพึ่งพา dictionaries แปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ที่มีตัวอย่างประโยคให้ดังเช่นที่ยกตัวอย่างให้ไปแล้ว  ….แต่ที่นี้ปัญหาที่ ตามมาก็คือ ผู้เรียนบางท่านยังไม่เก่งภาษาอังกฤษพอที่จะอ่านและทำความเข้าใจคำอธิบายใน dictionaries ฝรั่งได้….ดังนั้นทางแก้…the hard way หรือวิธีการที่ยากๆ ก็คือเปิดดิกอังกฤษเป็นไทยเพื่อทำความเข้าใจความหมายพื้นฐานของศัพท์ตัวนั้น ก่อนแล้วจึงออกแรงหารูปแบบการใช้งานใน dictionaries แปลอังกฤษเป็นอังกฤษอีกรอบหนึ่ง….โหฟังแล้วใจแป้วเลยใช่มะล่ะ …???…..แล้วอีกกี่ชาติล่ะจึงจะใช้ดิกแปลอังกฤษเป็นอังกฤษได้คล่องล่ะ …….เอื๊อกกลืนน้ำลายลุ้นหลายรอบแล้วนะ…….????!!!….เอาล่ะน่าใจเย็นๆถึงเปิด ดิกทั้งอังกฤษเป็นไทย และเปิดดิกอังกฤษเป็นอังกฤษ ถ้าเล่นดิกที่เป็น software นะ คงออกแรงน้อยกว่าดิกที่เป็นหนังสือเล่มโตๆน่ะ …..เพราะแค่ key เข้าไป หรือ (ดิกบางเล่มที่เก่งๆนะ) แค่เอา mouse ชี้มันก้อบอกความหมายของคำแล้วน่ะ ….อย่าเพิ่งท้อใจนะ …..
         เอาหละถามเองตอบเอง ที่นี้เลยเข้าเรื่องประเด็นที่จะสรุปบทความ1แล้วนะ ……….คำตอบที่ตรงประเด็นที่สุด ที่จะช่วย “กำหนดเป้าหมาย” ในการเรียนรู้คำศัพท์ของคุณเพื่อนำไปสร้างประโยคในการพูดและการเขียนในระดับ พื้นฐานได้นั้น ….แท้จริงแล้วไม่ต้องเหนื่อยแรงถึงขนาดต้องรออีก 10 ชาติเกิดข้างหน้ายามบ่ายๆหรือตะวันรอนๆหรอก…..แต่คำศัพท์เหล่านั้นมีแค่ เฉียดๆ 2,000 คำเอง …….คำศัพท์เหล่านี้ lexicographer (คนเขียนดิกชันนารี) เรียกมันว่า defining vocabulary (คำ ศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายความหมาย)…..ตกลงถ้าคุณอยากเห็นโฉมหน้า defining vocabulary นะก็ให้ดูที่ท้ายเล่มของ Oxford Advanced Learner’s Dictionary เอาไว้ว่างๆจะเอาไอ้คำศัพท์เฉียดๆ 2,000 คำที่ว่านี้มาแปะไว้บนเว็บเราให้พวกคุณได้ยลโฉมมัน แต่ตอนนี้ถ้าใครใจร้อนก้อไปซื้อ Oxford Advanced Learner’s Dictionary มาเปิดดูไปพลางๆก่อน …..หรือถ้าอยากเสียเงินน้อยหน่อยก็ซื้อหนังสือพิมพ์ Student Weekly มาลองบริกรรมดูจะเห็นได้ว่าเขาใช้ศัพท์ไม่เกิน 2,000 คำที่ว่านี้ หรือไปซื้อข้อสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาลัยมาดู เขาก้อใช้ศัพท์ไม่เกิน 2,000 คำที่ว่านี้ ………..
         เอาเป็นว่าถ้าใครได้จดจำ defining vocabulary 2,000 คำที่ว่านี้ได้ในสมองแล้วละก้อ ….(มันเป็นภาษาอังกฤษแค่ระดับ ม.6ของไทยเอง) คนผู้นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ดิกแปลอังกฤษเป็นไทยอีกต่อไปในการทำความเข้าใจ ภาษาอังกฤษยากๆที่กำลังอ่านอยู่……เพียงแค่ติดตั้ง dictionary อังกฤษเป็นอังกฤษที่เป็น software ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน เวลาอ่านหนังสืออะไรก้ออ่านหน้าคอมพิวเตอร์แล้วติดศัพท์ก้อ key เข้าไปหรือในกรณีที่อ่านข้อความที่เป็น text หรือบนเว็บ (software บางตัว) แค่เอา mouse ชี้นะคุณก็เห็นคำอธิบายศัพท์แล้วนะ ……..
        คำถามถัดไปก็คือว่า …..แล้วการเรียน defining vocabulary ทั้ง 2,000 คำเนี่ย ต้องใช้เวลาเรียนเท่าไหร่….??? คำตอบก็คือ ถ้าคุณมีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษในระดับ ม.6 นะ แล้วเป็น ม.6 โรงเรียนฝรั่งนะ ถ้าอาจารย์สอนเก่งๆนะ ติวเข้มดีๆ 3 เดือนก้อคงได้หมด (ติวไม่เป็นนักเรียนนั่งหาวหลับหมดนะ….555….แล้วถ้าติวไม่เป็นนะ 5 ปีก้อสอนได้ไม่หมด….!!!) แต่ถ้าเป็น ม.6 โรงเรียนไทยทั่วๆไปใน กทม นะ ถ้าอาจารย์เก่งๆคงสอนได้หมดไม่เกินหนึ่งปี ถ้าใครขยันจะเรียนเองโดยการซื้อ Student Weekly มาอ่านพร้อมกับเปิดดิกอังกฤษเป็นไทยกับดิกอังกฤษเป็นอังกฤษควบคู่กันไปแบบ ที่ว่านี้นะ ก็น่าจะเรียนได้ภายในเวลาหนึ่งปีนะ ….ถ้าไม่หลับคาหนังสือเสียก่อน …..??? …..แต่ถ้าเป็นความรู้ระดับ ม.6 จากโรงเรียนในต่างจังหวัดที่ห่างไกลความเจริญนะ ….อันนี้คำนวณเวลาได้ยากแฮะ….????
       ไอ้ที่ว่าถ้าอาจารย์คนไหนสอนไม่เป็นนะ สอนเด็ก ม. 6 ห้าปีก้อสอนไม่หมด ไอ้ definging vocabulary 2,000 คำเนี่ย ….จาบอกให้…….เลยจะจบบทความ 1 เอาไว้แค่นี้ ……..แต่จะกลับมาเขียนเรื่องวิธีการเรียนการสอนไอ้ defining vocabulary 2,000 คำเนี่ย จะทำไงโดยใช้เวลาน้อยที่สุด ……คือวิธีแรกที่ตัวเองใช้ก็คือ ทำหน้าให้มันตลกเอาไว้ก่อน พอนักเรียนเห็นหน้าเราเข้า พวกเขาก้อขำกลิ้งไปแล้ว (ช่วยให้ไม่หลับคาโต๊ะเรียน) หลังจากนั้นก็ถ่ายทอด “เคล็ดลับให้” …..เอาไว้สักพักหนึ่งจะกลับมาถ่ายทอดเคล็ดลับในการจดจำ defining vocabulary 2,000 คำเนี่ย ในเวลาอันสั้นที่สุด……เอาเป็นว่าคราวหน้าจะกระโดดข้ามไปเขียนเรื่องวิธีการ เรียนฟังฝรั่งพูดเร็วๆให้ทันหรือวิธีวางแผนการเรียนรู้ทักษะในการเขียน…….โห หัวข้อเรื่องหนักๆทั้งน้านเลย……แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะค่อยๆดั้นด้นหาทาง ร่ายออกมาทีละท่าเพลงให้เหมือนกระแสน้ำ…..แต่ต้องใช้สมาธิมากหน่อย…..
       อ้าวฝอยมาซะยืดยาวลืมอธิบายให้ละเอียดว่า defining vocabulary (คำศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายความหมาย) จริงๆแล้วคืออะไร….
       จริงๆแล้วมันคือคำศัพท์ที่ดิกฝรั่งแปลอังกฤษเป็นอังกฤษส่วนใหญ่ใช้ในการ เขียนคำอธิบายศัพท์ทุกตัวที่มีอยู่ในดิกแต่ละเล่ม….ซึ่งเขาจะใช้คำศัพท์ ง่ายๆอธิบาย มิเช่นนั้นแล้วยิ่งอธิบายไปคนเปิดดิกก็ยิ่งมึนหัวตึ๊บเลย…
       คือสรุปแล้วหลักสูตรไทยน่ะ เขาก้อวางโครงสร้างไว้ดีแล้วนะ คือนักเรียน ม.6 น่ะควรเรียนรู้ defining vocabulary ไปให้ครบ 2,000 คำแล้วก่อนที่จะกระโดนข้ามรุ่นไปชกรุ่นใหญ่ๆ………
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย จากที่ทิ้งท้ายไว้ให้คิดในแต่ละตอน
บทความ 2: เรื่องการเรียนการสอนทักษะการฟัง
       คนไทยพูดกันบ่อยว่า จะเรียนภาษาอังกฤษให้พูดฟังได้ดีต้องเรียนกับฝรั่งเจ้าของภาษา จริงหรือไม่…??? คำตอบก็คือมีทั้ง yes กับ no….อ้าวทำไมตอบแบบนั้นล่ะ….???
       คำตอบนี้ได้จากการวิเคราะห์การเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ …….สิ่งที่ผู้เรียนชาวไทยมักจะประสบก็คือตอนเรียนใน classroom น่ะพูดกับอาจารย์รู้เรื่อง แต่พอออกไปสู่โลกภายนอก มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือฟังฝรั่งคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง
       ลองให้นักเรียนสมมุติว่าตัวเองเป็นอาจารย์ฝรั่งสิ…..เหมือนๆกับการพิสูจน์ ทฤษฏีเรขาคณิตน่ะ นั่นก็คือจะพิสูจน์ว่าอะไรเป็นจริงก็ลองสมมุติว่ามันเป็นจริงก่อนแล้วจะมี ข้อเท็จจริงอะไรตามมาบ้าง ……สมมุติว่าตอนนี้พวกเราเป็นอาจารย์ฝรั่งนะ เดินเข้ามาใน classroom แล้ว say hello กับนักเรียนแล้วพูดคุยเรื่องอื่นๆ สิ่งแรกที่เจอแน่ๆก็คือ นักเรียนฟังไม่ทันแล้วนักเรียนพูดว่า ‘Pardon?’ หรือ ‘Can you speak slowly, please?’ อาจารย์ก็ต้องเกาหัวแกร๊กๆทุกครั้งที่ได้ยินคำเหล่านี้จากศานุศิษย์…ก็ต้อง พูดให้ช้าลง เพื่อให้อาจารย์ happy และนักเรียน happy ด้วย….แต่ในชีวิตจริงแล้วเวลาฝรั่งกับฝรั่งคุยกันใน pub หรือไปบรรยายเรื่องอะไรน่ะ ไม่มีฝรั่งที่ไหนพูดกันเองช้าๆหรอก……เลยตกลงก็เป็นอันว่าการเรียนการสอนแบบ พูดช้าๆกันนี้นะ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ “ต่ำกว่ามาตรฐาน”…….แล้วจะแก้ยังไงล่ะ……แล้วจะให้พูดเร็วแค่ไหนล่ะ…..???
        การที่จะตอบคำถามนั้นได้ เราต้องวิเคราะห์ให้ลึกว่า เวลาพูดเร็วกับพูดช้าน่ะ มันต่างกันอย่างไร ……ลองยกตัวอย่างภาษาไทยซิ หากใครพูดว่า “เร็วซิ” แล้วอยู่ดีๆเกิดอาการ “ขี้เกียจ” คือไม่อยากออกเสียงชัดถ้อยชัดคำขึ้นมา เขาเลยพูดว่า “เร็ววิ่” ทีนี้ละได้เรื่องเลย …..พูดกับเพื่อนน่ะไม่เป็นไรนะ แต่ไปพูดออกทีวี เดี๋ยวมีแล้วพวกอ้างตัวเป็นนักอนุรักษ์ภาษาไทยมาถล่มเอา …หาว่าออกเสียงไม่ชัดถ้อยชัดคำบ้าง ทำลายภาษาไทยบ้าง ……เรื่องนี้มันก็แปลก ….ทำลายหรือไม่ทำลายภาษาไทย ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
ทีนี้เรามาดูภาษาอังกฤษบ้าง เอาคำง่ายๆ เช่น
‘do it’ พูดช้าๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า strong form) ก็เป็น ‘ดู อิท’ แต่พอพูดเร็วๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า weak form) ก็กลายเป็น ‘ดูหวิท’
’see it’ พูดช้าๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า strong form) ก็เป็น ‘ซี อิท’ แต่พอพูดเร็วๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า weak form) ก็กลายเป็น ‘ซีหยิท’
       อ้าคุณพอจะมองเห็นได้ลางๆหรือยังว่าฉันเจาะลึกมาในแนวไหน……ลองคิดดูสิว่าถ้า ฝรั่งพูดประโยคยาวๆมีคำสิบกว่าคำหรือมากกว่านั้นนะ ไม่ link กันนัวเนียหรือ….???
       บางทีนะ link ของอังกฤษกับอเมริกันก็ไม่เหมือนกันด้วย อย่างเช่น
       paper bag คนอังกฤษไม่ออกเสียงตัว r ที่อยู่ท้ายคำ ไม่ให้มัน link กับคำว่า bag (เพราะ bag ขึ้นต้นด้วย b ที่เป็นพยัญชนะ) ก็จะออกเสียงเป็น ‘เพเพอะแบก’ ไปเลย ในขณะที่คนเอมริกันต้องใส่เสียตัว r ยาวแน่ๆเลย คงเป็น ‘เพเพอรรรรรรรรแบก’ เขียนเทียบเสียง (transliteration) แบบนี้น่ะ ฉันไม่เก่งหรอก ต้องไปอ่านที่คุณบ๊อบ บุญหด (เดลินิวส์) เขาเขียน รู้สึกเขาสรรหาวิธีเขียนจนเขียนเสียงสูงเสียงต่ำ (intonation) ของฝรั่งด้วยอักษรไทยได้เก่งนะ ฉันเขียนที่ไรหลุดทุกที (แต่พูดได้) ……
       กรณีของ paper bag ให้สังเกตที่ตรงอักษรแรกของคำที่ตามมา (คำว่า bag) มันเป็นพยัญชนะ ….ดังนั้นคนอังกฤษจะไม่ออกเสียงตัว r ที่อยู่ท้ายคำแรก …..แต่สำหรับพวกมะกันแล้ว ไม่ต้องพูดถึงหรอก พวกเขาไปที่ไหนก็จะออกเสียงตัว r ทุกแห่งอย่างชัดถ้อยชัดคำ ‘จนสั่นรัวไปหมด’….เลยบางทีนะ แค่คุณเรียนวิธีออกเสียงตัว r ให้ชัดๆนะ คุณก็พูดเป็นสำเนียงอเมริกันไปเกือบครึ่งหนึ่งซะแล้ว…..คล้ายๆกับที่คน อังกฤษล้อคนเอมริกันว่า ได้ยินเสียงตัว r ก้องกังวาลมาแต่ไกล…เลยรู้ว่าเป็นอเมริกันน่ะ ….!!!
      ทีนี้ลองมาดู paper industry กันบ้าง ให้สังเกตดูว่า อักษรแรกของตัวที่ตามมาเป็นสระ คนอังกฤษจะใส่ link ทันทีเวลาพูด …..มันก็จะกลายเป็น ‘เพเพอะรินเดิสตริ’ ….แล้วพี่มะกันหรือ….??? ไม่ต้องพูดถึงหรอกในเมื่อพี่แกออกเสียงตัว r อยู่แล้วเขาต้องใส่ link แน่ๆเลย link จนตัว r รัวกล้ำกับสระ i นัวเนียไปเลย …..
      แล้วอันนี้นะ …เหตุเกิดขึ้นจริงๆใน classroom ตอนเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนฝรั่งกับฝรั่งนะ….เราเรียนเรียงความกัน เด็กฝรั่งคนหนึ่งเขียนเรียงความมาว่า ‘I could of done it.’ ครูก็บอกว่า ‘ไม่มีนะ ภาษาอังกฤษแบบเนี้ย….!!!’ ……..ไอ้เด็กมันก้อเถียงว่า ‘ไม่มีได้ไงกัน ก้อพูดกันอยู่ทุกวันนี่’……เด็กอื่นเขาเลยฮากันครึนทั้งห้อง…. ในที่สุดพวกเรา (ทั้งชั้นเรียน) ก้อต้องช่วยกันชี้ทางสว่างให้หมอนั่น โดยบอกว่า ที่แท้จริงแล้วชาวบ้านเขาพูดกันว่า ‘I could have done it.’ แต่พูดเร็วๆ (weak form) เลย could + have = “คูเดิฟ”..หรือ “คูดัฟ”….อะไรทำนองเนี้ย ……แล้ว you จำมาผิดเอง …….หมอนั่นก้อเลยหัวเราะขำตัวเองซะ
กลิ้งเลย….แล้วหมอก้อพูดติดตลกบอกว่า ‘โหไม่บอกก็ไม่รู้นะเนี่ย….กว่าจะรู้นะอายุตั้ง 17-18 เข้าไปแล้ว…ฮาๆๆๆๆ…..!!!’
      ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างสุดท้ายนะ (จริงๆแล้ว…ตัวอย่างดีๆมีเพียบเลย…แต่จะรวบรัดให้บทความสั้นลง) …
there is not any แดร์ อีส นอท (ถ้าอเมริกันพูด ‘นอท’ ก็เป็น ‘นาท’) เอนิ (strong form)
there isn’t any แดริสซึ่นเทนิ (weak form) ……..ถ้าใครพูดไม่ดีลิ้นพันกันนะ ….555…หรือถ้าอเมริกันพูดแบบขี้เกียจบางทีกลายเป็น ‘แดเร้นเอนิ’ …ไปซะเลย ยิ่งมันกับมึนไปกันใหญ่….!!!
       ในความเป็นจริงแล้วความน่าจะเป็นไปได้ (probability) ในเชิงคณิตศาสตร์ ของการผสมผสานเสียงของพยางค์ที่ link กันแล้วเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นน่ะ มีมากมายพอที่จะทำให้ learners มึนหัวได้ดีพอสมควรเลยหละ…!!! ตกลงไอ้จุดเล็กๆน้อยเหล่านี้น่ะแหละ มันทำให้เราฟังฝรั่งพูดเร็วๆไม่รู้เรื่อง และในเมื่ออาจารย์ฝรั่งก็ขี้เกียจปวดหัว มาพูดซ้ำๆกับนักเรียน เขาก็พูดช้าๆ (strong form) ไปซะเลย จะได้ไม่ต้องเสียประสาททั้งคนสอนและคนเรียน……ผลก็คือนักเรียนไม่สามารถฝึก ทักษะการฟังในระดับมาตรฐานได้…..
      ตกลงเรามาครึ่งทางแล้วนะเรื่องทักษะการฟังน่ะ …. คือไม่ใช่เพราะอยากจะพล่ามมากแต่มันจำเป็นต้องพูดเรื่อง strong form กับ weak form ให้เข้าใจก่อน จึงจะคุยเรื่องวิธีการแก้ไขปัญหาการฟังไม่รู้เรื่องได้สำเร็จ…เอาเป็นอันว่า คราวหน้าจะบอกวิธีแก้ไขปัญหานี้ในเชิงการเรียนการสอนภาคปฏิบัติให้ ….ว่าจะต้องทำอย่างไร ………
      สรุปแล้ว … (ไม่รู้เท็จจริงอย่างไร ไม่กล้าวิจารณ์) ดูเหมือนว่า คนไทยน่ะเขาจะห้ามคนไทยด้วยกัน พูดภาษาไทยด้วย weak form แม้ว่าจะพูดเร็วๆก็ตาม …??? เช่นคุยกันเล่นๆบนเว็บคุณบอก ‘ชอบอ่ะ’ (weak form) คงไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าคุณไปพูดแบบนั้นออกทีวี เดี๋ยวโดนคนไทยด้วยกัน ‘ถล่ม’ แน่ๆ…แต่ในวิชาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชา Phonetics เวลาพูดเร็วๆหลักภาษาอังกฤษเขา ‘บังคับว่า คุณต้องใช้ weak form’ มิฉนั้นแล้วคำพูดจะออกมา ‘ผิดธรรมชาติของภาษา’……อ้าวไปกันคนละโลกเลย….!!!!???
(ต่อ)
      ตกลงเป็นอันว่าเราจะมาดูกันว่าจริงๆแล้วการแก้ไขปัญหาผู้เรียนฟัง ไม่รู้เรื่องควรทำอย่างไร ……..ในตอนที่แล้วเราพูดถึงการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ strong form และ แบบ weak form…นั่นก็เพราะว่ามันคือปัญหาหลัก แต่โดยความเป็นจริงแล้วก็ยังมีปัญหาอื่นๆปลีกย่อยเช่น stress (การเน้นเสียงหนักเบาในแต่ละพยางค์) เช่นเอาอย่างคำง่ายเช่น competition นะ stress ที่ถูกก็น่าจะเป็น “คอมเพอะทิเชิ่น” แต่ถ้าคนไม่รู้อ่านเสียงราบไปเลย อาจกลายเป็น “คอมเพ็ททิชั่น” หรือชื่อผู้หญิง Patricia “เพอะทริเช่อ” ถ้าใส่ stress ผิดจะกลายเป็น “แพ๊ททริเซีย” ไปเลย ….
      แต่จริงๆแล้วประเด็นปลีกย่อยเรื่อง stress มีปัญหาน้อยกว่า linking ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการสอน Listening Comprehension นั้น ผู้สอนควรหาเทปหรือสื่ออย่างอื่นที่มีสำเนียงที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนฟัง แต่เคล็ดลับสุดยอดในการสอนก็คือว่า “ต้องไม่ให้นักเรียนฟังอย่างเดียวโดยไม่มองดูตัวหนังสือของคำที่เทปพูด” ผู้สอนควรหยุดเทปเป็นช่วงๆ และเว้นระยะให้ผู้เรียนพูดตาม (เท่าที่ผู้เรียนฟังทัน) ทำแบบนี้หลายๆรอบ วิธีการเช่นนี้ เราเรียกว่า ‘drill’ ไม่ได้แปลว่า ‘เจาะ’ นะแต่แปลว่า ‘ฝึก’ พอเปิดเทปแล้วหยุดให้นักเรียนพูดตามหลายๆครั้งโดยไม่เห็นตัวหนังสือที่เขียน ในบทเรียนนะ
     ถ้านักเรียนฟังไม่ทันหรือพูดตามไม่ทันเอามากๆผู้สอนก็ควรเขียนบน white board ประโยคที่นักเรียนฟังไม่ทัน และลากเส้นโค้งเพื่อเชื่อมโยงพยางค์ท้ายของคำแต่ละคำที่ link (เชื่อม) กับพยางค์แรกของคำที่ตามมา โดยแสดงให้ดู links หลายๆชุดในแต่ละประโยค และถ้าทำได้ก็ต้องบอกว่า stress ของคำไหนอยู่ตรงไหนด้วย …ในช่วงนี้ไม่ต้องไปสนใจว่านักเรียนจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจความหมายของคำหรือ ประโยคใดๆ….แต่เป้าหมายที่สำคัญคือให้นักเรียนฟังทันและพูดตามได้ ถัดจากนั้นผู้สอนก็พูดช้าๆแบบ strong form ให้นักเรียนพูดตาม ในการ drill นี้ ผู้สอนจะต้องค่อยๆเพิ่มความเร็วในการพูดและให้นักเรียนเพิ่มความเร็วในการ พูดด้วยเช่นกัน จนในที่สุดผลของการ drill ออกมาเป็นอันว่านักเรียนทุกคนพูดทุกประโยคได้รวดเร็วแบบ weak form เร็วเหมือนกับฝรั่งพูดกับฝรั่งเองใน pub หรือใน presentation ทั้งหลาย…
      และเมื่อไปถึงจุดนี้แล้ว แน่นอน…ต้องเอา passage ที่เป็นตัวหนังสือให้นักเรียนอ่าน แล้วผู้สอนก็ต้องเริ่มสอนศัพท์และวิธีการนำคำศัพท์ต่างๆเหล่านั้นไปใช้ในการ สร้างประโยคตามวิธีการที่ให้ไว้ใน Article 1 นั่นเอง …….เลยตกลงเป็นอันว่าวิธีการต่างๆเมื่อใช้ผสมผสานกัน มันก็จะกลายเป็นระบบที่ดีทั้งระบบได้ ……..และคุณจะเชื่อหรือไม่ว่า ในขณะที่ drill นั้น จากการที่นักเรียนเงี่ยหูฟังประโยคภาษาอังกฤษและพยายามพูดตามให้ได้นั้น นักเรียนเหล่านั้นได้เรียน grammar ไปแล้วเป็นจำนวนมาก “ด้วยวิธีการธรรมชาติ” ……..
      เมื่อเขียนถึงจุดนี้อยากให้ผู้อ่านหลายๆท่านหยุดคิดและตระหนักว่า แท้จริงแล้ว grammar ในภาษาอังกฤษ บางทีเหมือนกับเป็น sense (สัมผัส) ที่ 6, 7, 8, etc. …….มันไม่ใช่เรียนได้โดยการท่องเป็นกฎ แต่บ่อยครั้งกฎหลายๆกฎผู้เรียนรู้เองโดยการที่เคยได้ยินมาต่างหากล่ะ ……แต่ที่พูดมานี้ไม่ใช่ผู้เขียนไม่สนับสนุนให้เรียน grammmar ….เพียงแต่อยากจะบอกว่าส่วนใหญ่ของ grammar ได้จาก “การฟังรู้เรื่อง” เป็นลำดับแรก…..แน่นอนที่ผู้เรียนชาวไทยต้องอ่านหนังสือ grammar บ้างเพื่อรู้กฎเกณฑ์พื้นฐานบางประการ แต่ผู้ที่ฟังแล้วพูดตามได้มาก มักจะได้เปรียบคือลดความจำเป็นในการที่จะต้องอ่านหนังสือ grammar นั่นเอง ……แต่เมื่อเรียนไปในระดับสูงๆ หนังสือ grammar มีไว้ใช้อ้างอิงหรือค้นคว้าบางจุดที่ไม่แน่ใจ (สำหรับคนธรรมดาทั่วๆไป) …….เว้นเสียแต่ว่าใครอยากจะเรียนเพื่อเป็นนักภาษาศาสตร์ก็ค่อยมาเรียน grammar แบบโหดๆ……ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป…
    ไอ้วิธีการสอน Listening Comprehension ที่ว่ามาเนี้ย คนไทยบางคนเรียนภาษาอังกฤษมา 20 กว่าปีแล้วยังไม่เคยเจอใครสอนเลย ก้อสงสัยว่ามาจากไหนกัน….คำตอบก็คือว่าผู้เขียนค้นคว้าทดลองมาเองจากคัมภีร์ เอ้ยตำราหลายเล่ม …แต่ถ้าอยู่ดีๆมีคนเอาวิธีนี้ไปสอนแล้วแล้วเขาอ้างว่าเขาใช้วิธีนี้มาก่อน แล้ว นั่นมันก็เรื่องของเขา แต่ถ้าคุณยังไปเดินเสาะหาทั่วประเทศไทยแล้วยังไม่เจอใครสอนวิธีนี้ ฉันก็ไม่อยากบอกว่าถ้างั้นฉันจะสอนคุณเอง เพราะว่าเดี๋ยวจะเป็นการโฆษณาขาย course ภาษาอังกฤษไป ฮาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น